ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร่ำพร่ำ
มิได้จะมาเล่าเรื่องกบแต่อย่างใดหรอกครับ แต่ถ้าเรื่องฝนก็คงต้องเกี่ยวข้องกันกับเรื่องต่อไปนี้แน่นอนครับ เพราะชาวอีสานหลังจากการเลี้ยงตาปู่บ้านผู้ที่เป็นคนดูแลปกปักรักษาชาวบ้านทุกคนในช่วงเดือนหก หรือบางหมู่บ้านก็จะเอาบุญบั้งไฟเพื่อขอฝนในการทำนา ชาวบ้านก็จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วนำมาแช่น้ำ ที่ช้าวบ้านเรียกกันว่า เอาข้าวปลูกลงน้ำ แช่ไว้ 2 คืน
จากนั้นจะนำข้าวปลูกขึ้นจากน้ำเอามาเทไว้ใต้ร่มไม้ นำเศษฝางมาคุมและรดน้ำให้ชุ่มอีกที แม่บอกผมว่าเขาเรียกว่า มอกกล้า ทิ้งไว้อีก 1-2 วันครับ ระหว่างที่รอเราก็เตรียมแปลกล้าที่เราจะหว่าน เช่น ตัดหญ้า ทดน้ำเข้านา เตรียมไถ เตรียมคราดรอครับ (เทคนิกการไถ และคราด จะมาเล่าให้ฟังครั้งหน้านะครับ)
เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว เราก็มาว่านกล้าเพื่อทำนากันเลยดีกว่าครับ
เพื่ออธิบายขั้นตอนให้เข้าใจง่าย ขอกล่าวเป็นขั้นตอน ดังนี้นะครับ
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเราทดน้ำเข้าทั่วนาแล้ว เราก็ไถ และคราดตีดินให้ละเอียดและเรียบเสมอกัน
(ขั้นตอนนี้เหนื่อยสุดสุดเลยครับ)
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อคราดตีดินเสมอกันดีแล้ว เราจะปล่อยนำออกและทำร่องน้ำให้รอบนา เพราะถ้าน้ำขังท้วมเมล็ดข้าวจะทำให้ข้าวไม่งอกเนื่องจากเมล็ดข้าวเน่านั้นเองครับ
ส่งสัยใช่ไหมครับว่าเอาต้นกล้วยมาทำอะไร อุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่ในขั้นตอนต่อไปนี้นี่เองครับ
ขั้นตอนที่ 3 เรียกว่า การมอบตากล้า ต้นกล้วยที่ผูกด้วยเชือกทั้งสองด้านนี้เรียกว่า ไม้มอบกล้านั้นเองครับ บางคนอาจจะใช้ไม้แทนต้นกล้วยก็ได้
วิธีการใช้ เราจะน้ำไม้มอบกล้าวางลงไปที่ตากล้าที่เราคราดเรียบร้อยแล้ว เดินถอยหลังเพื่อรีดน้ำที่ขังอยู่ออกให้หมดจากตากล้า และการเดินถอยหลังไม้มอบจะลบรอยเท้าของเราอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อทุกอย่างพร้อมเรียบร้อยเราก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่เรามอกไว้ใต้ร่มไม้ 2 คืน มาหว่านให้ทั่วแปลงนาที่เราเตรียมไว้
สำหรับบ้าน หรือ ทุ่งนาใครที่ไม่มี ไก่ เป็ด ก็กลับไปนั่งพักผ่อนได้เลยครับ แต่ที่บ้านผมไก่เยอะก็ต้องทำรั้วกั้นสักหน่อย ไม่อย่างนั้นคงไม่มีกล้าเหลือพอให้ทำนาในปีนี้แน่นอนครับ
ขั้นตอนการหว่านกล้า เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นของการทำนาดำเท่านั้นครับ ซึ่งกว่าจะได้ข้าวมารัปประทานแสนยาก ติดตามเราต่อไปนะครับว่าครั้งงหน้าเราจะเอาเรื่องการทำนาขั้นตอนไหนมาเล่าให้ฟังอีก โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
BY เคอู ครูเอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น