"กะปอมก่าหลับตาเข้าบ่วง เข้าบ่วงแล้วจังค่อยมืนตา" เป็นเสียงร้องเป็นทำนองเพลงของเด็กน้อยชาวอีสานสองคนกำลัง ค้องขี้กระปอม
ขี้กะปอม หรือ กิ่งก่า เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ทุกพื้นทั่วประเทศไทย แต่ผมไม่ทราบว่าภาคอื่นๆของไทยจับ ขี้กระปอม (กิ่งก่า) มาทำอาหารเหมือนเราชาวอีสานหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีเราไม่ได้รับประทานอะไรแปลกๆ หรอกนะครับ เนื่องด้วยอีสานมีตำนานว่าเป็นดินแดนที่แห้งแล้ง ชาวอีสานจึงต้องหาอาหารมารับประทานเพื่อดำรงพงษ์พันธุ์เราชาวอีสานให้อยู่สืบไป จึงต้องรับประทานอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่จนเป็นวัฒนธรรมการกินที่สืบต่อมาช้านาน
เรามาพูดเรื่อง ขี้กะปอมเราต่อกันครับ ขี้กะปอมที่บ้านเรามีหลักๆ 3 ชนิครับ ได้แก่
กะปอมบวช |
1. กะปอมบวช เป็นกะปอมขนาดเล็กที่สุดที่เราพบ มีตัวสีเทาอ่อนๆ ที่หลังสีเส้นสีเหลืองสองเส้นคล้ายสีผ้าจีวรพระ นี้คงเป็นที่มาของชื่อของมัน มีนิสัยเชื่อง ส่วนมาไม่นิยมจับมาทำอาหารครับ เพราะตัวเล็กมากครับ
กะปอมแดง |
2 . กะปอมแดง มีขนาตัวใหญ่กว่า กะปอมบวช พบได้ตามต้นไม้เล็กๆทั่วไป เวลาที่กะปอมแดงออกมารับแดดตอนเช้าบริเวรกลางลำตัวถึงหัวจะมีสีแดง แต่เมื่อมันตกใจทั้งตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเปลือกไม้ที่อาศัยอยู่เพื่อพลางตัวครับ นิยมจับมาทำอาหารเพราะจับได้ง่ายแต่ก็ไม่เชื่องมาเท่ากะปอมบวชครับ
กะปอดที่ทุกคนใฝ่ฝันที่จะจับได้สักครั้ง เป็นตัวที่ผมจะพูดต่อไปนี้ครับ ถ้าเปรียบกับการชกมวยก็คงเป็นพี่ แหลม ศรีสะเกษ ที่นักมวยหลายคนยากจะชกและชนะเขาสักครั้ง เป็นกะปอมที่มีเรเวลสูงสุด
กะปอมก่า(บักก่าฟ้าที่เด็กทุกวันนี้เรียก) |
3. กะปอมก่า หรือ บักก่าฟ้า กะปอมก่าเป็นกะปอมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสามชนิด เมื่ออารมณ์ดีตัวจะมีสีฟ้า มีจุดสีน้ำตาลแข็มอยู่ข้างตัวข้างละสามจุด เมื่อตกใจหรือมีศัตรูจะเปลี่ยนสีเป็นสีเปลือกต้นไม้ที่อาศัยอยู่ ชอบอาศัยอยูที่บริเวณต้นไม้ใหญ่ที่มีใบหนา เมื่อเราเดินเข้าใกล้มันจะรู้สึกตัวและวิ่งขึ้นต้นไม้ได้เร็วมากเป็นตัวที่จับยากที่สุดครับ
เอาละหลังจากที่เรารู้จักหน้าตาของเจ้ากะปอมทั้งสามตัวแล้ว เรามาดูวิธีการจับกันบ้างครับว่าทำได้อย่างไร
การจับเจ้ากะปอมมี 2 วิธีหลักๆครับ คือ แบบนุ่มนวล และแบบจับตาย
แบบนุ่มนวล เราเรียกว่า ค้องปอม
เครื่องมือจับจะทำจากไม้ไผ่ ทำเป็นคันคล้ายคันเบ็ต ที่ปลายมัดด้วยเชือกไนลอนขนาดเล็ก ทำเป็นบ่วงรูดได้ เมื่อเจอเป้าหมายก็จะยื้นไม้ที่เตรียมบ่วงไว้พร้อมแล้วสอดไปที่คอของกะปอม จากนั้นก็ดึง กะปอมก็จะติดบ่วงโดยไม่ตาย แล้วไปคัดขนาดอีกทีครับ ตัวไหนเล็กก็ปล่อยคืนธรรมชาติเพื่อให้มันโต
แบบที่สองแบบจับตาย ส่วนมากจะใช้หนังสติ๊กในการจับ วิธีนี้ไม่นิยมครับ เพราะกว่าจะกลับบ้านตัวที่ตายก่อนก็จะมีกลิ่นเน่า เอามาทำอาหารไม่อร่อย
การนำมาประกอบอาหารก็ทำได้หลากหลายเมนูครับ เช่น
-หมกใส่ใบตอง
- ผัดกะเพรา
- ผัดเผ็ด
- ปิ้ง
-ลาบ
แล้วแต่ใครชอบเมนูไหนนะครับ
การรับประทานกะปอมใช่เราจะนำมาประกอบอาหารได้ตลอดนะครับ เรานิยมหากะปอมกัน เดือน มกราคม - ต้นเดือนพฤษภาคม กันเท่านั้นครับ เพราะเมื่อฝนตกเราก็จะหาอาหารอื่นแทน แต่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าฤดูฝนกะปอมจะไม่อร่อยเพราะกะปอมจะมีพยาธินั้นเองละครับ
ทุกวันนี้การรับประทานกะปอมก็ยังมีอยู่ ตัวไหนเล็กก็ปล่อยให้มันเติบโตบ้างนะครับ เพื่ออนุรัษ์ขี้กะปอมฤดูการหน้ามาถึงเราจะได้เห็นกะปอมอีกนั้นเองครับ
By เคอู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น