วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปลาซิวตัวน้อย อร่อยเหาะ


ปลาซิว เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่พบได้ตาม ห้วย หนอง คลอง บึง ทั่วไป เป็นปลาที่หาจับง่าย ตายง่ายจนผู้คนนำมาใช่เป็นคำเปรียบเทียบกันคนว่า ใจปลาซิว หรือพวกปลาซิวปลาสร้อย ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่มีความสำคัญ และ คนที่ขี้ขลาดขี้กลัวนั้นเอง
ปลาซิวมีมากมายหลายชนิด เช่น ปลาชิวหางแดง ปลาซิวธรรมดา ปลายซิวอ้าว ฯลฯมากมาย
วันนี้ใช่ว่าผมจะมาพูดเรื่องชนิดของปลาซิวหรอกครับ แต่จะพามาดูวิธีการจับปลาซิวที่หลายคนไม่เคยเห็น เป็นวิธีการจับอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ

นั้นคือการใส่ดางปลาซิว(ดาง ภาคกลางน่าจะเรียกว่า ตาข่าย หรืออวนจับปลา) หรือบางถิ่นคนอีสานเรียวว่า มอง ดางปลาซิวจะมีขนาดเล็กครับ วิธีการใส่ ใช้ไม้ปักเป็นหลักยึดที่ริมฝั่งคลอง แล้วเราก็เดินตัดไปอีกฝั่งคลองด้านหนึ่ง ระดับน้ำไม่จำเป็นต้องลึกเสมอไป


เมื่อเราว่าง ดาง เรียบร้อยแล้ว ใช้เวลาไมนนานครับ ถ้าร้องเพลงก็จบหนึ่งเพลงพอดี ถ้าวาง ดาง ไว้นานเกินไปปลาซิวก็จะหลุดออกว่าอย่างนั้นครับ


หลังจากผ่านไปหนึ่งผลงานเพลงเราก็ถึงเวลาเก็บดางแล้ว การเก็บดางต้องงใช้เทคนิคขั้นสูงงนะครับ เพราะถ้าเก็บมั่วๆดางของเราอาจจะพันกันในการใส่ครั้งหน้าก็ได้



เมื่อเราเอาเจ้า ดาง ขึ้นมาจากน้ำแล้ว ก็จะมีปลาซิวติดมาด้วยเต็มเลยครับ ขั้นตอนนี้ไม่ต้องไปเก็บออกจากดางให้ยาก(เว้นแต่ตัวที่มันไม่ลุดออกจริงๆ)เพราะเพียงแค่สลัดสลัด ปลาซิวตัวน้อยก็จะหล่นลงตาข่ายเขียวที่เรารองไว้ด้านล้าง จากนั้นเราจึงเก็บใส่ถังที่เราเตรียมไว้


นอกจากเราจะได้ปลาซิวไปทำอาหาร เช่น ห่อหมกปลาซิว ก้อยปลาซิว และอีหลากหลายเมนูแล้ว เรายังได้สานสัมพันธ์กับ พ่อ แม่ พี่ น้อง เสียงหัวเราะสนุกสนานดังไปทั่วท้องนาเลยครับ


ดูเหมือนว่าเจ้าปลาซิวตัวจิ๋ว จะไม่ขี้ปะติ๋วน้อยค้าอย่าที่หลายคนเปรียบเทียวไว้อีกต่อไป หากวั้นหนึ่งเราจากโลกนี้ไป เรื่องรางเจ้าปลาซิวน้อยพวกนี้จะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่หาได้ง่าย และขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นปลาที่สานความสัมพันธ์ให้ครอบครัวมีเสียงหัวเราะได้เชช่นเดียวกัน

                                                                                                 By เคอู ครูเอ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

มาหว่านกล้า ทำนาดำ (ทำนา#1)

ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพร่ำพร่ำ

มิได้จะมาเล่าเรื่องกบแต่อย่างใดหรอกครับ แต่ถ้าเรื่องฝนก็คงต้องเกี่ยวข้องกันกับเรื่องต่อไปนี้แน่นอนครับ  เพราะชาวอีสานหลังจากการเลี้ยงตาปู่บ้านผู้ที่เป็นคนดูแลปกปักรักษาชาวบ้านทุกคนในช่วงเดือนหก หรือบางหมู่บ้านก็จะเอาบุญบั้งไฟเพื่อขอฝนในการทำนา ชาวบ้านก็จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วนำมาแช่น้ำ ที่ช้าวบ้านเรียกกันว่า เอาข้าวปลูกลงน้ำ แช่ไว้ 2 คืน


จากนั้นจะนำข้าวปลูกขึ้นจากน้ำเอามาเทไว้ใต้ร่มไม้ นำเศษฝางมาคุมและรดน้ำให้ชุ่มอีกที แม่บอกผมว่าเขาเรียกว่า มอกกล้า ทิ้งไว้อีก 1-2 วันครับ ระหว่างที่รอเราก็เตรียมแปลกล้าที่เราจะหว่าน เช่น ตัดหญ้า ทดน้ำเข้านา เตรียมไถ เตรียมคราดรอครับ (เทคนิกการไถ และคราด จะมาเล่าให้ฟังครั้งหน้านะครับ)



เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว เราก็มาว่านกล้าเพื่อทำนากันเลยดีกว่าครับ
เพื่ออธิบายขั้นตอนให้เข้าใจง่าย ขอกล่าวเป็นขั้นตอน ดังนี้นะครับ
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเราทดน้ำเข้าทั่วนาแล้ว เราก็ไถ และคราดตีดินให้ละเอียดและเรียบเสมอกัน
 (ขั้นตอนนี้เหนื่อยสุดสุดเลยครับ)


ขั้นตอนที่ 2  เมื่อคราดตีดินเสมอกันดีแล้ว เราจะปล่อยนำออกและทำร่องน้ำให้รอบนา เพราะถ้าน้ำขังท้วมเมล็ดข้าวจะทำให้ข้าวไม่งอกเนื่องจากเมล็ดข้าวเน่านั้นเองครับ


ส่งสัยใช่ไหมครับว่าเอาต้นกล้วยมาทำอะไร อุปกรณ์ชิ้นนี้อยู่ในขั้นตอนต่อไปนี้นี่เองครับ
ขั้นตอนที่ 3 เรียกว่า การมอบตากล้า ต้นกล้วยที่ผูกด้วยเชือกทั้งสองด้านนี้เรียกว่า ไม้มอบกล้านั้นเองครับ บางคนอาจจะใช้ไม้แทนต้นกล้วยก็ได้ 



วิธีการใช้ เราจะน้ำไม้มอบกล้าวางลงไปที่ตากล้าที่เราคราดเรียบร้อยแล้ว เดินถอยหลังเพื่อรีดน้ำที่ขังอยู่ออกให้หมดจากตากล้า และการเดินถอยหลังไม้มอบจะลบรอยเท้าของเราอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อทุกอย่างพร้อมเรียบร้อยเราก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่เรามอกไว้ใต้ร่มไม้ 2 คืน มาหว่านให้ทั่วแปลงนาที่เราเตรียมไว้



สำหรับบ้าน หรือ ทุ่งนาใครที่ไม่มี ไก่ เป็ด ก็กลับไปนั่งพักผ่อนได้เลยครับ แต่ที่บ้านผมไก่เยอะก็ต้องทำรั้วกั้นสักหน่อย ไม่อย่างนั้นคงไม่มีกล้าเหลือพอให้ทำนาในปีนี้แน่นอนครับ
ขั้นตอนการหว่านกล้า เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นของการทำนาดำเท่านั้นครับ ซึ่งกว่าจะได้ข้าวมารัปประทานแสนยาก ติดตามเราต่อไปนะครับว่าครั้งงหน้าเราจะเอาเรื่องการทำนาขั้นตอนไหนมาเล่าให้ฟังอีก โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
   BY เคอู ครูเอ

ปลาซิวตัวน้อย อร่อยเหาะ

ปลาซิว เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่พบได้ตาม ห้วย หนอง คลอง บึง ทั่วไป เป็นปลาที่หาจับง่าย ตายง่ายจนผู้คนนำมาใช่เป็นคำเปรียบเทียบกันคนว่า ใจ...