วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

ตลาดกลางดง ของป่าหาง่ายที่ห้วยเม็ก




หากท่านมีโอกาสเดินทางมายังถนน หมายเลย 2039 ระหว่าง อำเภอห้วยเม็ก ไปถึง ทางแยกบ้านฮองฮี อำเภอยางตลาด มีตลาดของป่าที่น่าสนใจ ซึ่งหลายคนที่ผ่านก็ไม่พลาดที่จะซื้อของฝากจากตลาดแห่งนี้เลย


ตลาดกลางดง แห่งนี้อยู่บริเวณ สวนป่าดอนลำดวน เป็นเพิงสังกะสีที่ดูจากสภาพแล้วน่าจะผ่านแดนฝนมาหลายต่อหลายปีแล้ว โครงส้รางก็ทำมาจากไม้ที่มีร่องรอยการซ่อมแซมครั้งแล้วครั้งเล่า ราวกับคำกล่าที่ว่า นักรบย่อมมีบาดแผล ยิ่มมีเยอะประสบการณ์ก็ยิ่งมากมาย
หอยนา
ตลาดกลางดงแห่งนี้มีอาหารให้ท่านได้เลือกซื้อกันมากมายครับ ตั้งแต่ 
ในน้ำ ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด ฯลฯ
เห็ดกระด้าง(เกิดอยู่เสาไฟฟ้า ผู้สาวบ่มาหาเฮากะไปเอง)

เห็ดป่า
มีเห็ดตะไค เห็ดแดง เห็นหน้าขาว

หวาย

อีลอกอีงอม
ดอกกระเจียว
 บนบก   เห็ด หน่อไม้ หนูนา(ไม่ใช่นักร้องนะครับ) อีลอกอีงอม หวาย ดอกกระเจียว ฯลฯ
จั๊กจั่น
สัตว์ปีก  ก็มีครับ   จั๊กจั่น  จิ้งหรีด  นก นับไม่ครบหรอกครับ
ไข่มดแดง  แม่เป้งมด
ผักหวานป่า
อาหารสุดยอด   ได้แก่ไข่มดแดงครับ ผักหวานป่า   ป่า ป่า 
กาแฟโบราณ กาแฟกลางดง
 สำหรับท่านใดที่เดินทางแต่เช้าก็ไม่ต้องกังวนครับ ว่ามาถึงแต่เช้าจะเป็นอาการ ซงล่ง เซงเลง วินวินเซ็งเซ็ง เพราะที่นี้เขามีร้านกาแฟไว้บริการ จะเอาแบบ กาแฟนุ่มๆ หรือขมตายไม่เอาเรื่องก็เลือกได้ตามสบายเลยครับ
บรรยากาศในตลาด
ตลาดกลางดงแห่งนี้ยังคงความเป็นพื้นบ้านอีสานของเราไว้ได้มากครับ ราคาข้าวของก็ไม่แพง ผู้คนที่จับจ่ายซื้อของก็ไม่มากนัก ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาอย่างไม่ขาด ท่านไดมีโอกาศผ่านมาทางนี้ก็อย่าลืมแวะนะครับ ที่นี่ ตลาดกลางดง 

                                                               By เคอู
                            





วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

วัดเขาสามยอด สุดยอดพลังศรัทธา


ผมได้ทราบข่าวแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้บ้าน วัดเขาสามยอด หรือ วัดถ่ำสูง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จากอินเทอร์เน็ต ดูจากภาพที่หลายคนโพสต์ให้เห็นถึงบรรยากาศ ผมฝันว่าสักครั้งผมจะได้สัมผัสบรรยาการที่นี้สักครั้ง แล้วโอกาสนี้ก็มาถึง



เราเริ่มการเดินทางจากปากทางเข้า ถนนสายชุมแพ-เมืองเลยครับ ปากทางเข้าบ้านวังยาว ครั้งนี้เราใช้จักรยานเหมือนทุกครั้งที่มีโอกาส แต่สมาชิกไม่ครบครับด้วยแต่ละคนมีภารกิจและเวลาว่างไม่ตรงกัน วันนี้เราเลยมีเพื่อนร่วมทางเพียง สามเสือครับ เสือทศ เสือโต้ง และผมเสือเอครับ
เมื่อเดินนทางมาถึงที่วัดแล้วใช่ว่าการเดินทางจะถึงเป้าหมายหลอกนะครับ เราต้องเดินทางด้วยเท้าขึ้นไปที่วัดภูสูงนั้นเองละครับ



จากวัดข้างล้างไปถึงยอดเขาที่เราเดินขึ้นไป เราต้องเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาที่สองข้างทางส่วนมากจะเป็นป่าไผ่ครับ ถ้าเป็นภาพยนต์จีนเขาคงไม่เดินให้เหนื่อยเหมือนเรา เขาน่าจะใช้กำลังภายในไต่ยอดไผ่ไปแบบที่เราเห็นในภาพยนต์จีนหลายเรื่อง ระยะทางที่เราเดินทางขึ้นเขา กับทางดินวัดระยะทางด้วย จีพีเอส ได้ประมาณ 1-2 กิโลเมตรเองครับจิ๊บๆ

แนะนำสำหรับสาวๆ ที่ไม่ชอบปีนเขาไม่ควรที่จะไปหรอกครับ กว่าจะเดินไปถึงทั้งเดินขึ้นเขา และทางที่ไม่สะดวกสะบายมากนัก ขนาดอินดี้ทั้งสามคนยังต้องพักระหว่างทางนับครั้งไม่ได้เลยครับ เกือบจะถอดใจหลายต่อหลายครั้ง

หลังจากเดินทางลัดเลาะป่าเขาที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่ร่มรื่นระหว่างเดินทางเราจะได้ยินเสียงนกหลากหลายชนิดขับกล่อมบรรเลงเพลงป่าเขาให้เราฟังตลอดทางเดิน ฟังแล้วก็หายเหนื่อยไปได้บ้างครับ
และแล้วเราเดินไปเดินมาเราก็เห็นเป้าหมายที่เราตามหาอยู่ข้างหน้าแล้ว






เมื่อเราเดินเท้ามาถึงทางขึ้นใช่ว่าความเสียวจะจบนะครับ เดินทางมาแบบเหนื่อยๆ มาถึงทางขึ้นก็หายเหนื่อยทันไดครับ เพราะความเสียวเข้ามาแแทนที่โดยเร็ว ดังกับเราคลิกคอมฯเปลี่ยนรูปภาพอย่าไรอย่างนั้นเลยครับ
ด้วยทางขึ้นที่เป็นไม้ทั้งหมด ตั้งอยู่บนหน้าผาหิน ยึดด้วยลวด เสาบางเสาผมมองดูเหมือนกับตั้งไว้บนหินโดยมิได้ฝัง ระว่างเดินก็อดใจที่จะทดสอบความแข็งแรงมิได้ครับ แอบโยกโยกดูถึงได้รู้ว่ามันแข็งแรงดี
ผู้ที่กลัวความสูงไม่แนะนำให้ไปครับ สูงมากจริงๆ

เขาบอกว่าทางไปสวรรค์มันจะรกเพราะคนไปน้อย ทางไปนรกจะแปน(แปน ภาษาอีสาน แปลว่า โล้ง,สะอาด ) เพราะคนทุกวันนี้ทำไม่ดีเยอะเมื่อตายไปก็จะไปนรกทำให้ทางที่ไปนรกแปน
เห็นท่าจะจริงครับ ทางที่เดินมาที่วัดรกด้วยต้นไม้แต่เมื่อเดินทางมาถึงหายเหนื่อยครับสูดอากาศบริสุทธิ์เต็มปอด  ต่างจากทางเดินไปที่ผับ บาร์ ถนนโล่ง  ผู้คนมากมาย

เมื่อมาถึงข้างบนเราจะเห็นถ่ำที่มีพระพุทธรูป ดูเหมือนว่าจะเป็นที่ที่พระสงฆ์ใช้ปฏิบัติศาสนกิจ นั่งสมาธิครับ วันที่เราไปประตูปิดและล็อกด้วยกุญแจ ก็เลยไม่ได้เข้าไปข้างในถ่ำครับได้แตถ่ายรูปอยู่หน้าประตู





สำหรับใครที่จะมาชมความสวยงาม และพลังศรัทธาของชาวพุทธ ที่อยู่กับธรรมชาติ ที่กว่าจะสร้างเส็จคงใช้ความพยายาม และอุสาหะ มิน้อย ซึ่งแม้แต่เดินตัวเปล่าก็ว่าเหนื่อยมากแล้ว ลองหลับตานึกภาพคนที่แบกไม้ แบกปูน ทราย ขึ้นเขามาสร้าง จะเหนื่อยแค่ไหน
ดังชีวิตเรานั้นละครับ ถ้าล้มเลิกไปเสียก่อนคงไม่มีวันได้เจอความสุข ความสวยงามในชีวิตเป็นแน่แท้
เชิญชวนทุกท่านลองมาชมความงามที่นี้ดูสักครั้งครับ แล้วท่านจะไม่ผิดหวัง

                                   ภาพโดย ตาโต้ง
                       By เคอู

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561

ขี้กะปอม..จอมซน


"กะปอมก่าหลับตาเข้าบ่วง เข้าบ่วงแล้วจังค่อยมืนตา" เป็นเสียงร้องเป็นทำนองเพลงของเด็กน้อยชาวอีสานสองคนกำลัง ค้องขี้กระปอม
ขี้กะปอม หรือ กิ่งก่า เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ทุกพื้นทั่วประเทศไทย แต่ผมไม่ทราบว่าภาคอื่นๆของไทยจับ ขี้กระปอม (กิ่งก่า) มาทำอาหารเหมือนเราชาวอีสานหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีเราไม่ได้รับประทานอะไรแปลกๆ หรอกนะครับ เนื่องด้วยอีสานมีตำนานว่าเป็นดินแดนที่แห้งแล้ง ชาวอีสานจึงต้องหาอาหารมารับประทานเพื่อดำรงพงษ์พันธุ์เราชาวอีสานให้อยู่สืบไป จึงต้องรับประทานอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่จนเป็นวัฒนธรรมการกินที่สืบต่อมาช้านาน
เรามาพูดเรื่อง ขี้กะปอมเราต่อกันครับ ขี้กะปอมที่บ้านเรามีหลักๆ 3 ชนิครับ ได้แก่
กะปอมบวช
1. กะปอมบวช เป็นกะปอมขนาดเล็กที่สุดที่เราพบ มีตัวสีเทาอ่อนๆ ที่หลังสีเส้นสีเหลืองสองเส้นคล้ายสีผ้าจีวรพระ นี้คงเป็นที่มาของชื่อของมัน มีนิสัยเชื่อง ส่วนมาไม่นิยมจับมาทำอาหารครับ เพราะตัวเล็กมากครับ
กะปอมแดง
2 . กะปอมแดง มีขนาตัวใหญ่กว่า กะปอมบวช พบได้ตามต้นไม้เล็กๆทั่วไป เวลาที่กะปอมแดงออกมารับแดดตอนเช้าบริเวรกลางลำตัวถึงหัวจะมีสีแดง แต่เมื่อมันตกใจทั้งตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเปลือกไม้ที่อาศัยอยู่เพื่อพลางตัวครับ นิยมจับมาทำอาหารเพราะจับได้ง่ายแต่ก็ไม่เชื่องมาเท่ากะปอมบวชครับ

กะปอดที่ทุกคนใฝ่ฝันที่จะจับได้สักครั้ง เป็นตัวที่ผมจะพูดต่อไปนี้ครับ ถ้าเปรียบกับการชกมวยก็คงเป็นพี่ แหลม ศรีสะเกษ ที่นักมวยหลายคนยากจะชกและชนะเขาสักครั้ง เป็นกะปอมที่มีเรเวลสูงสุด
กะปอมก่า(บักก่าฟ้าที่เด็กทุกวันนี้เรียก)
3. กะปอมก่า หรือ บักก่าฟ้า กะปอมก่าเป็นกะปอมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสามชนิด เมื่ออารมณ์ดีตัวจะมีสีฟ้า มีจุดสีน้ำตาลแข็มอยู่ข้างตัวข้างละสามจุด เมื่อตกใจหรือมีศัตรูจะเปลี่ยนสีเป็นสีเปลือกต้นไม้ที่อาศัยอยู่ ชอบอาศัยอยูที่บริเวณต้นไม้ใหญ่ที่มีใบหนา เมื่อเราเดินเข้าใกล้มันจะรู้สึกตัวและวิ่งขึ้นต้นไม้ได้เร็วมากเป็นตัวที่จับยากที่สุดครับ
เอาละหลังจากที่เรารู้จักหน้าตาของเจ้ากะปอมทั้งสามตัวแล้ว เรามาดูวิธีการจับกันบ้างครับว่าทำได้อย่างไร
การจับเจ้ากะปอมมี 2 วิธีหลักๆครับ คือ แบบนุ่มนวล และแบบจับตาย
แบบนุ่มนวล เราเรียกว่า ค้องปอม


เครื่องมือจับจะทำจากไม้ไผ่ ทำเป็นคันคล้ายคันเบ็ต ที่ปลายมัดด้วยเชือกไนลอนขนาดเล็ก ทำเป็นบ่วงรูดได้ เมื่อเจอเป้าหมายก็จะยื้นไม้ที่เตรียมบ่วงไว้พร้อมแล้วสอดไปที่คอของกะปอม จากนั้นก็ดึง กะปอมก็จะติดบ่วงโดยไม่ตาย แล้วไปคัดขนาดอีกทีครับ ตัวไหนเล็กก็ปล่อยคืนธรรมชาติเพื่อให้มันโต

แบบที่สองแบบจับตาย ส่วนมากจะใช้หนังสติ๊กในการจับ วิธีนี้ไม่นิยมครับ เพราะกว่าจะกลับบ้านตัวที่ตายก่อนก็จะมีกลิ่นเน่า เอามาทำอาหารไม่อร่อย

การนำมาประกอบอาหารก็ทำได้หลากหลายเมนูครับ เช่น
-หมกใส่ใบตอง
- ผัดกะเพรา
- ผัดเผ็ด
- ปิ้ง
-ลาบ

แล้วแต่ใครชอบเมนูไหนนะครับ
การรับประทานกะปอมใช่เราจะนำมาประกอบอาหารได้ตลอดนะครับ เรานิยมหากะปอมกัน เดือน มกราคม - ต้นเดือนพฤษภาคม กันเท่านั้นครับ เพราะเมื่อฝนตกเราก็จะหาอาหารอื่นแทน แต่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าฤดูฝนกะปอมจะไม่อร่อยเพราะกะปอมจะมีพยาธินั้นเองละครับ
ทุกวันนี้การรับประทานกะปอมก็ยังมีอยู่ ตัวไหนเล็กก็ปล่อยให้มันเติบโตบ้างนะครับ เพื่ออนุรัษ์ขี้กะปอมฤดูการหน้ามาถึงเราจะได้เห็นกะปอมอีกนั้นเองครับ


                                                                                        By เคอู 

ปลาซิวตัวน้อย อร่อยเหาะ

ปลาซิว เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่พบได้ตาม ห้วย หนอง คลอง บึง ทั่วไป เป็นปลาที่หาจับง่าย ตายง่ายจนผู้คนนำมาใช่เป็นคำเปรียบเทียบกันคนว่า ใจ...